ปลาคัง
ปลาคัง หรือเรียก ปลากดคัง (Red Tailed Mystu) เป็นปลาแม่น้ำเนื้ออ่อนที่นิยมจับมารับประทานชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีเนื้อมาก เนื้อนุ่ม และมีรสมันอร่อย ปััจจุบัน พบได้น้อยตามธรรมชาติจึงทำให้เป็นปลาที่มีราคาสูง
• ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Hemibagrus wyckioides
• ชื่อสามัญ : Red Tailed Mystus
• ชื่อไทย :
– ปลากดคัง
– ปลาคัง
– กดคัง
– กดหางแดง
– ปลาเคิง
– กดแก้ว
– กดข้างหม้อ
– กดเขี้ยว
• ชื่อสามัญ : Red Tailed Mystus
• ชื่อไทย :
– ปลากดคัง
– ปลาคัง
– กดคัง
– กดหางแดง
– ปลาเคิง
– กดแก้ว
– กดข้างหม้อ
– กดเขี้ยว
สั่งสินค้าได้ที่ : ร้านบ้านโชคฟาร์ม
ลักษณะทั่วไปของปลาคัง/ปลากดคัง
ปลาคัง/ปลากดคัง เป็นปลาไม่มีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาปลากดทุกชนิด ซึ่งในธรรมชาติที่พบในแม่น้ำจะมีความยาวของลำตัวตั้งแต่ 30 เซนติเมตร จนถึงยาวได้มากกว่า 1 เมตร
ปลาคัง/ปลากดคัง เป็นปลาไม่มีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาปลากดทุกชนิด ซึ่งในธรรมชาติที่พบในแม่น้ำจะมีความยาวของลำตัวตั้งแต่ 30 เซนติเมตร จนถึงยาวได้มากกว่า 1 เมตร
ปลาคัง/ปลากดคังมีลักษณะลำตัวคล้ายกับปลาดุก แต่จะมีส่วนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน และสังเกตได้ง่าย คือ ปลาคังจะแถบแดงบริเวณก้านครีบส่วนต่างๆ โดยมีลักษณะเด่น คือ ลำตัวไม่เกล็ด มีพื้นลำตัวสีเงินอมเทา ส่วนหน้าท้องสีเทาหรือจางซีด ส่วนหัวมีหนวด 4 คู่ โคนหนวดมักเป็นสีดำ และค่อยๆเป็นสีขาวจนถึงปลายหนวด หนวดคู่บนสุดมีความยาวมากที่สุด ซึ่งจะยาวได้เกือบถึงโคนหาง ส่วนหนวดคู่ด้านล่างจะสั้นถึงแค่ประมาณครีบอก
บริเวณหัวด้านบนจะเป็นกระดูกหนา และแข็ง มีลักษณะแบนราบลงทางด้านปาก ส่วนตามี 2 ข้าง มีค่อนข้างเล็ก และมองเห็นไม่ค่อยดี ซึ่งส่วนใหญ่ปลากดจะใช้หนวดนำทางเป็นหลัก ส่วนปากจะมีขนาดใหญ่ มุมปากกว้าง บนขากรรไกรภายในปากจะมีฟันซี่เล็กๆเป็นแผง
ส่วนครีบมี 8 ครีบ ประกอบด้วยครีบอกที่อยู่ด้านล่างของเหงือกจะมีขนาดใหญ่ มีก้านครีบแข็งอยู่อันแรก ซึ่งมักจะเป็นอันตรายเวลาจับ เพราะอาจทิ่มมือได้ง่าย ถัดจากจากครีบอกจะเป็นครีบท้องซึ่งอยู่บริเวณกลางลำตัว และถัดมาอีกจะเป็นครีบก้น จนสุดท้ายเป็นครีบหาง ส่วนบนหลังมีครีบหลัง 2 จุด จุดแรกอยู่บริเวณกลางลำตัว และครีบหลังจุดต่อมาจะอยู่ค่อนท้ายก่อนถึงโคนหาง ทั้งนี้ ก้านครีบของปลาคัง/ปลากดคังที่โตเต็มวัยจะมีสีแดงเรื่อ
ขอบคุณภาพจาก www. pantip.com
แหล่งอาศัย และการกระจาย
ปลาคัง/ปลากดคัง เป็นปลาที่พบได้มากในแหล่งน้ำไหล ซึ่งจะพบได้ตามแม่น้ำสายหลัก และแม่น้ำสาขาได้ทุกแห่งในประเทศไทย ซึ่งจะอาศัยอยู่ได้ทั้งบริเวณริมชายฝั่ง และกลางน้ำลึก
ปลาคัง/ปลากดคัง เป็นปลาที่พบได้มากในแหล่งน้ำไหล ซึ่งจะพบได้ตามแม่น้ำสายหลัก และแม่น้ำสาขาได้ทุกแห่งในประเทศไทย ซึ่งจะอาศัยอยู่ได้ทั้งบริเวณริมชายฝั่ง และกลางน้ำลึก
อาหาร และนิสัยการหาอาหารของปลาคัง
ปลาคัง/ปลากดคัง เป็นปลาประเภทกินเนื้อ ทั้งเนื้อที่มีชีวิต และที่เป็นซากสัตว์ มีความยาวของลำไส้เท่ากับความยาวลำตัว โดยอาหารที่สำคัญตามธรรมชาติ ได้แก่ ปลาขนาดเล็ก กบ เขียด และซากสัตว์เน่าเปื่อยต่างๆ
ปลาคัง/ปลากดคัง เป็นปลาประเภทกินเนื้อ ทั้งเนื้อที่มีชีวิต และที่เป็นซากสัตว์ มีความยาวของลำไส้เท่ากับความยาวลำตัว โดยอาหารที่สำคัญตามธรรมชาติ ได้แก่ ปลาขนาดเล็ก กบ เขียด และซากสัตว์เน่าเปื่อยต่างๆ
ปลาคัง/ปลากดคัง เป็นปลาที่ค่อนข้างดุร้าย ชอบไล่กัดปลาชนิดอื่นที่เข้ามาใกล้ และไม่ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งบางครั้งก็มักจะชอบไล่กัดปลาคัง/ปลากดคังตัวอื่นที่เข้ามาใกล้เช่นกัน
โดยปกติปลาคัง/ปลากดคังจะชอบออกหาอาหารในเวลากลางคืน จึงมักจับปลาคังได้มากในเวลากลางคืน ซึ่งมีน้อยที่จะออกหาอาหารในเวลากลางวัน เพราในช่วงกลางวัน ปลาคังมักจะหลบอาศัยตามโพรงไม้ โพรงหินหรือซอกหินเป็นหลัก โดยเฉพาะบริเวณที่มีโขดหินหรือมีขอนไม้บริเวณแอ่งน้ำลึก
การเพาะพันธุ์ปลาคัง/ปลากดคัง
ปลาคังที่จับมาปล่อยขังในบ่อมักจะวางไข่ยาก จึงต้องใช้วิธีฉีดฮอร์โมนกระตุ้นให้วางไข่จึงจะได้ผลดี โดยวิธีฉีดฮอร์โมนกระตุ้น 2 วิธี ได้แก่
1. การใช้ต่อมใต้สมองปลามาผสมรวมกับฮอร์โมนสกัด HCG
2. การฉีดด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ ที่ต้องฉีดด้วยฮอร์โมน 2 ชนิด
– ฮอร์โมน Buserelin หรือชื่อทางการค้า ซูปรีแฟคท์ (Suprefact) ปริมาณ 20 ไมโครกรัม/ปลา 1 กิโลกรัม สำหรับใช้ฉีดเข็มแรก
– ฮอร์โมน Domperidone หรือชื่อทางการค้า โมทิเลียม (Motilium) ปริมาณ 10 มิลลิกรัม/ปลา 1 กิโลกรัม สำหรับใช้ฉีดหลังจากฉีด ฮอร์โมน Buserelin แล้ว
ปลาคังที่จับมาปล่อยขังในบ่อมักจะวางไข่ยาก จึงต้องใช้วิธีฉีดฮอร์โมนกระตุ้นให้วางไข่จึงจะได้ผลดี โดยวิธีฉีดฮอร์โมนกระตุ้น 2 วิธี ได้แก่
1. การใช้ต่อมใต้สมองปลามาผสมรวมกับฮอร์โมนสกัด HCG
2. การฉีดด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ ที่ต้องฉีดด้วยฮอร์โมน 2 ชนิด
– ฮอร์โมน Buserelin หรือชื่อทางการค้า ซูปรีแฟคท์ (Suprefact) ปริมาณ 20 ไมโครกรัม/ปลา 1 กิโลกรัม สำหรับใช้ฉีดเข็มแรก
– ฮอร์โมน Domperidone หรือชื่อทางการค้า โมทิเลียม (Motilium) ปริมาณ 10 มิลลิกรัม/ปลา 1 กิโลกรัม สำหรับใช้ฉีดหลังจากฉีด ฮอร์โมน Buserelin แล้ว
ทั้งนี้ อาจฉีดฮอร์โมนทั้งสองเพียงครั้งเดียวหรือแบ่งฉีดเข็มละ 2 ครั้ง โดยตำแหน่งที่ฉีด คือ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณหลังใกล้กับโคนครีบหลัง หรือฉีดเข้าเข้ากล้ามเนื้อท้องบริเวณโคนครีบท้อง
การอนุบาลปลาคัง/ปลากดคัง
หลังจากที่ไข่ฟักเป็นลูกปลาแล้ว ประมาณ 3-5 วัน ลูกปลาคังจึงเริ่มกินอาหาร ดังนั้น หลังการฟักเป็นตัวจะเป็นต้องเลี้ยงอนุบาลก่อนปล่อยลงเลี้ยงในบ่อดินหรือในกระชัง เพื่อให้ลูกปลาสามารถเติบโต และพร้อมที่จะอาศัยตามสภาพธรรมชาติให้มากที่สุด ทั้งนี้ จะต้องจับแยกพ่อแม่ปลาตั้งแต่หลังการผสมน้ำเชื้อแล้ว และบ่ออนุบาลจะต้องมีระบบเปลี่ยนถ่ายน้ำได้
หลังจากที่ไข่ฟักเป็นลูกปลาแล้ว ประมาณ 3-5 วัน ลูกปลาคังจึงเริ่มกินอาหาร ดังนั้น หลังการฟักเป็นตัวจะเป็นต้องเลี้ยงอนุบาลก่อนปล่อยลงเลี้ยงในบ่อดินหรือในกระชัง เพื่อให้ลูกปลาสามารถเติบโต และพร้อมที่จะอาศัยตามสภาพธรรมชาติให้มากที่สุด ทั้งนี้ จะต้องจับแยกพ่อแม่ปลาตั้งแต่หลังการผสมน้ำเชื้อแล้ว และบ่ออนุบาลจะต้องมีระบบเปลี่ยนถ่ายน้ำได้
การอนุบาลลูกปลาคังอาจใช้หลายรูปแบบ อาทิ การอนุบาลในกระชังตาถี่ การอนุบาลในบ่อซีเมนต์ หรือ การอนุบาลในตู้กระจก ซึ่งมีระยะการอนุบาลนาน 30-50 วัน ขึ้นอยู่กับการจัดการดูแล ทั้งนี้ เกษตรกรมักจะอนุบาลให้ลูกปลาคังเติบโตจนมีขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร ก็พร้อมที่จะนำออกจำหน่ายหรือปล่อยเลี้ยงในบ่อดินต่อไป แต่หากปล่อยเลี้ยงในกระชังจะใช้ลูกปลาที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ ซึ่งจะต้องอนุบาลนาน 4-6 เดือน หรือมากกว่า ซึ่งจะต้องให้ได้ขนาดตั้งแต่ 2 นิ้วขึ้นไป
1. การอนุบาลในบ่อซีเมนต์
การอนุบาลปลาคัง/ปลากดคังในบ่อซีเมนต์เป็นวิธีที่ช่วยให้จัดการง่าย แต่มักเสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง แต่จะเหมาะสำหรับผู้ที่มีที่ดินน้อย ไม่สามารถสร้างบ่อดินได้ บ่อซีเมนต์ที่ใช้มักจะก่อด้วยอิฐมอญ ขนาดพื้นที่ 10 – 50 ตารางเมตร ที่ ระดับขอบบ่อสูงประมาณ 50 – 100 เซนติเมตร ใส่น้ำสูงประมาณ 30 – 50 เซนติเมตร อัตราการปล่อยลูกปลาคัง 800 ตัว/ตารางเมตร
1. การอนุบาลในบ่อซีเมนต์
การอนุบาลปลาคัง/ปลากดคังในบ่อซีเมนต์เป็นวิธีที่ช่วยให้จัดการง่าย แต่มักเสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง แต่จะเหมาะสำหรับผู้ที่มีที่ดินน้อย ไม่สามารถสร้างบ่อดินได้ บ่อซีเมนต์ที่ใช้มักจะก่อด้วยอิฐมอญ ขนาดพื้นที่ 10 – 50 ตารางเมตร ที่ ระดับขอบบ่อสูงประมาณ 50 – 100 เซนติเมตร ใส่น้ำสูงประมาณ 30 – 50 เซนติเมตร อัตราการปล่อยลูกปลาคัง 800 ตัว/ตารางเมตร
2. การอนุบาลในบ่อดิน
การอนุบาลในบ่อดินจะต้องใช้ลูกปลาคังที่อนุบาลในบ่อซีเมนต์หลังฟักออกมาเป็นตัวแล้ว 8-10 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ลูกปลาคังเริ่มหาอาหารเองได้บ้างแล้ว ทั้งนี้ บ่อดินอนุบาลจะทำหน้าที่อนุบาลต่อจนถึงระยะพร้อมที่จะปล่อยเลี้ยง ซึ่งมักขุดบ่อดินขนาดเล็กประมาณ 200-800 ตารางเมตร ลึกประมาณ 100-150 เซนติเมตร และควรเตรียมบ่อไม่ให้มีโคลนตม พื้นบ่อเรียบ ลาดเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งบริเวณลาดต่ำสุดควรขุดบ่อเล็กๆเป็นแอ่งสำหรับรวบรวมลุกปลา รวมน้ำหรือโคลนตม อัตราการปล่อยที่ 60 ตัว/ตารางเมตร
การอนุบาลในบ่อดินจะต้องใช้ลูกปลาคังที่อนุบาลในบ่อซีเมนต์หลังฟักออกมาเป็นตัวแล้ว 8-10 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ลูกปลาคังเริ่มหาอาหารเองได้บ้างแล้ว ทั้งนี้ บ่อดินอนุบาลจะทำหน้าที่อนุบาลต่อจนถึงระยะพร้อมที่จะปล่อยเลี้ยง ซึ่งมักขุดบ่อดินขนาดเล็กประมาณ 200-800 ตารางเมตร ลึกประมาณ 100-150 เซนติเมตร และควรเตรียมบ่อไม่ให้มีโคลนตม พื้นบ่อเรียบ ลาดเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งบริเวณลาดต่ำสุดควรขุดบ่อเล็กๆเป็นแอ่งสำหรับรวบรวมลุกปลา รวมน้ำหรือโคลนตม อัตราการปล่อยที่ 60 ตัว/ตารางเมตร
3. การอนุบาลในกระชัง
การอนุบาลลูกปลาคังในกระชังก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้ลูกปลาเติบโตได้ดี เพราะน้ำจะมีคุณภาพดีตลอด ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำปล่อย และสภาพแวดล้อมเป็นไปตามธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งมักทำกระชังในบ่อดินขนาดใหญ่หรือในแม่น้ำ ซึ่งจะเป็นกระชังตาถี่ ขนาดประมาณ 1 x 1 x 1.5 เมตร อัตราการปล่อย 100 ตัว/กระชัง
การอนุบาลลูกปลาคังในกระชังก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้ลูกปลาเติบโตได้ดี เพราะน้ำจะมีคุณภาพดีตลอด ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำปล่อย และสภาพแวดล้อมเป็นไปตามธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งมักทำกระชังในบ่อดินขนาดใหญ่หรือในแม่น้ำ ซึ่งจะเป็นกระชังตาถี่ ขนาดประมาณ 1 x 1 x 1.5 เมตร อัตราการปล่อย 100 ตัว/กระชัง
การให้อาหารแก่ลูกปลาคัง/ปลากดคัง
การให้อาหารแก่ลูกปลาในระยะอนุบาล ในช่วงแรกหลังการฟักเป็นตัว 3-10 หรือหลังจากไข่แดงหน้าท้องหมดแล้ว จะให้เป็นไข่สุกบดละเอียด ร่วมกับไรแดง จากนั้น จึงให้เป็นปลาบดร่วมกับอาหารสำเร็จรูปขนาดเม็ดเล็ก ซึ่งมักใช้อาหารปลาดุก รวมถึงอาหารสดชนิดอื่น อาทิ ไส้เดือนดิน ปลวก เป็นต้น ความถี่การให้ที่ 2 ครั้ง/วัน จนอิ่ม
การให้อาหารแก่ลูกปลาในระยะอนุบาล ในช่วงแรกหลังการฟักเป็นตัว 3-10 หรือหลังจากไข่แดงหน้าท้องหมดแล้ว จะให้เป็นไข่สุกบดละเอียด ร่วมกับไรแดง จากนั้น จึงให้เป็นปลาบดร่วมกับอาหารสำเร็จรูปขนาดเม็ดเล็ก ซึ่งมักใช้อาหารปลาดุก รวมถึงอาหารสดชนิดอื่น อาทิ ไส้เดือนดิน ปลวก เป็นต้น ความถี่การให้ที่ 2 ครั้ง/วัน จนอิ่ม
เมื่อเลี้ยงอนุบาลนาน 25-30 วัน จะได้ลูกปลาขนาด 2 -3 เซนติเมตร หนักประมาณ 4 -5 กรัม แต่หากอนุบาลในกระชังที่เวลา 2-3 เดือน จะให้ความยาวลำตัวได้ถึง 8-10 เซนติเมตร หรือ 4-4.8 นิ้ว และหากอนุบาลต่ออีก 2-3 เดือน จะได้ความยาวลำตัว 10-18 เซนติเมตร หรือประมาณ 4-7 นิ้ว และมีอัตราการรอดสูง ต้นทุนในการอนุบาล 2-2.5 บาท/ตัว
สั่งสินค้าได้ที่ : ร้านบ้านโชคฟาร์ม
การเลี้ยงปลาคัง/ปลากดคัง
ปลาคังในอดีตเป็นปลาที่จับได้มากในแม่น้ำ แต่ปัจจุบันเริ่มหายากมากขึ้น หากจับได้จึงมักขายได้ในราคาสูงกิโลละหลายร้อยบาท ดั้งนั้น จึงมีเกษตรเริ่มนำปลาคังมาเพาะเลี้ยงเพื่อจำหน่ายมากขึ้นในปัจจุบัน
1. การเลี้ยงปลาคัง/ปลากดคังในกระชัง
การเลี้ยงปลาคังในกระชัง นิยมปล่อยลูกปลาคังขนาดตั้งแต่ 6 นิ้ว ขึ้นไป และใช้กระชังขนาดช่องตาอวน 1.5 เซนติเมตร ขนาดกระชัง 5 x 5 เมตร หรือตามความเหมาะสม ที่ความลึก 2 เมตร ใช้ลูกปลาคังขนาด 2 นิ้ว จำนวน 375 -750 ตัว/กระชัง หรือ 15-30 ตัว/ตารางเมตร
ปลาคังในอดีตเป็นปลาที่จับได้มากในแม่น้ำ แต่ปัจจุบันเริ่มหายากมากขึ้น หากจับได้จึงมักขายได้ในราคาสูงกิโลละหลายร้อยบาท ดั้งนั้น จึงมีเกษตรเริ่มนำปลาคังมาเพาะเลี้ยงเพื่อจำหน่ายมากขึ้นในปัจจุบัน
1. การเลี้ยงปลาคัง/ปลากดคังในกระชัง
การเลี้ยงปลาคังในกระชัง นิยมปล่อยลูกปลาคังขนาดตั้งแต่ 6 นิ้ว ขึ้นไป และใช้กระชังขนาดช่องตาอวน 1.5 เซนติเมตร ขนาดกระชัง 5 x 5 เมตร หรือตามความเหมาะสม ที่ความลึก 2 เมตร ใช้ลูกปลาคังขนาด 2 นิ้ว จำนวน 375 -750 ตัว/กระชัง หรือ 15-30 ตัว/ตารางเมตร
การให้อาหารจะให้อาหารสำเร็จรูปที่เป็นอาหารปลาดุก และเสริมด้วยเนื้อปลาบด ความถี่วันละ 2 ครั้ง เมื่อเลี้ยงนาน 6 เดือน จะได้ปลาคังน้ำหนัก 0.4 – 0.5 กิโลกรัม/ตัว รวมแล้วต่อกระชังประมาณ 200 – 400 กิโลกรัม และเลี้ยงนาน 10 เดือน จะได้ปลาคังน้ำหนัก 1-1.2 กิโลกรัม/ตัว รวมแล้วต่อกระชังประมาณ 500-900 กิโลกรัม/กระชัง
2. การเลี้ยงปลาคัง/ปลากดคังในบ่อดิน
การเลี้ยงปลาคังในบ่อดิน จะใช้ลูกปลาความยาว 4-6 นิ้ว บ่อดินขนาด 500-1,000 ตารางเมตร หรือมากกว่าถึง 1 ไร่ อัตราการปล่อย 1-2 ตัว/ตารางเมตร หรือ หากปล่อย 2 ตัว/ตารางเมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ ก็จะปล่อยประมาณ 3,200 ตัว
การเลี้ยงปลาคังในบ่อดิน จะใช้ลูกปลาความยาว 4-6 นิ้ว บ่อดินขนาด 500-1,000 ตารางเมตร หรือมากกว่าถึง 1 ไร่ อัตราการปล่อย 1-2 ตัว/ตารางเมตร หรือ หากปล่อย 2 ตัว/ตารางเมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ ก็จะปล่อยประมาณ 3,200 ตัว
การให้อาหารจะเป็นอาหารปลาดุก และเสริมด้วยอาหารอย่างอื่น อาทิ กุ้งขนาดเล็ก ไส้เดือน เป็นต้น และความถี่ 2 ครั้ง/วัน โดยเน้นให้ช่วงเย็นหรือช่วงค่ำมากกว่าช่วงกลางวัน เมื่อเลี้ยงนาน 4 เดือน จะได้ปลาหนัก 0.1-0.4 กิโลกรัม/ตัว หากปล่อยเลี้ยงได้ 3,000 ตัว จะได้ผลผลิตประมาณ 300-1,200 กิโลกรัม หรือเฉลี่ยประมาณ 600 กิโลกรัม และเมื่อเลี้ยง 8 เดือน จะได้น้ำหนักปลา 0.4 – 0.70 กิโลกรัม/ตัว หรือคิดเฉลี่ยที่ 0.55กิโลกรัม/ตัว ที่ 3,000 ตัว จะได้ผลผลิตปลาที่ 1,650 กิโลกรัม ทั้งนี้ ต้นทุนการผลิตประมาณ 16-18 บาท/ตัว
3. การเลี้ยงปลาคัง/ปลากดคังในบ่อคอนกรีต
การเลี้ยงปลาคังในบ่อคอนกรีต เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เหมาะสมกับเกษตรกรที่มีที่ดินน้อย ด้วยการก่ออิฐมอญเป็นบ่อสี่เหลี่ยม 5×5 เมตร หรือใช้บ่อวงกลม ความสูงขอบบ่อประมาณ 1 เมตร พร้อมทำช่องระบายน้ำ โดยให้พื้นลาดเอียงในทางใดทางหนึ่ง ร่วมกับจัดทำระบบหมุนเวียนน้ำด้านข้างของแต่ละบ่อ ขนาดลูกปลาคังที่ใช้เลี้ยงตั้งแต่ 6 นิ้ว ขึ้นไป อัตราการปล่อยที่ 10-20 ตัว/ตารางเมตร หรือ 375 ตัว (15 ตัว/ตารางเมตร) ในขนาดบ่อ 5×5 เมตร
การเลี้ยงปลาคังในบ่อคอนกรีต เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เหมาะสมกับเกษตรกรที่มีที่ดินน้อย ด้วยการก่ออิฐมอญเป็นบ่อสี่เหลี่ยม 5×5 เมตร หรือใช้บ่อวงกลม ความสูงขอบบ่อประมาณ 1 เมตร พร้อมทำช่องระบายน้ำ โดยให้พื้นลาดเอียงในทางใดทางหนึ่ง ร่วมกับจัดทำระบบหมุนเวียนน้ำด้านข้างของแต่ละบ่อ ขนาดลูกปลาคังที่ใช้เลี้ยงตั้งแต่ 6 นิ้ว ขึ้นไป อัตราการปล่อยที่ 10-20 ตัว/ตารางเมตร หรือ 375 ตัว (15 ตัว/ตารางเมตร) ในขนาดบ่อ 5×5 เมตร
การให้อาหารจะให้อาหารสำเร็จรูปของอาหารปลาดุก ชนิดลอยน้ำ ให้ 2 ครั้ง เช้า-เย็น/ค่ำ เมื่อเลี้ยง 6 เดือน จะได้น้ำหนักต่อตัวประมาณ 0.3 กิโลกรัม/ตัว หรือเลี้ยงรอด 375 ตัว/บ่อ ก็จะได้น้ำหนักประมาณ 113กิโลกรัม/บ่อ หากเลี้ยง 10 บ่อ จะได้น้ำหนักประมาณ 1,130 กิโลกรัม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น